เมนู

อุปกิเลส การตั้งมั่น การประชุม การรวบรวมจิตเป็นไปชั่วขณะ ชื่อว่า ขณิก-
สโมธาน
เพราะฉะนั้น จึงมีความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ. ท่านอธิบายไว้
ว่า อุปกิเลสทั้งหลายเมื่อเกิด ย่อมเกิดด้วยการเกี่ยวเนื่องกันชั่วขณะ ด้วยการ
สืบต่อกันมาชั่วขณะ คือ ไม่เกิดด้วยอำนาจแห่งขณะจิตดวงหนึ่ง.
จบอรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ

3. อรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ


ปฐมฉักกะ (ฉักกะที่1)


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสาสาทิมชฺฌ-
ปริโยสานํ
เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของลมหายใจเข้า คือ ปลายจมูก หรือ
นิมิตปาก เป็นเบื้องต้นของลมเข้าในภายใน หัวใจเป็นท่ามกลาง มีนาภีเป็น
ที่สุด. เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลม
หายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน โดยไปตามความต่างกันแห่งที่ตั้ง
จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายในนั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ใน
อารมณ์เดียว.
บทว่า ปสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของ
ลมหายใจออก คือ สะดือเป็นเบื้องต้นของลมออกไปในภายนอก หัวใจเป็น
ท่ามกลาง ปลายจมูก นิมิตปาก หรืออากาศภายนอกเป็นที่สุด. ในที่นี้พึง
ทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.